วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
หน่ยวการเรียนที่ 11. ความหมายของคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาคอมพิวเตอร์ (Computer) อาจให้ความหมายได้หลายทัศนะ เช่น คอมพิวเตอร์ คือเครื่องประมวลผลที่จัดให้ข้อมูลดิบอยู่ในรูปแบบที่สื่อความหมายเหมาะกับการนำไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี มีหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้จำนวนมาก สามารถ
คำนวณเปรียบเทียบข้อมูลที่มีความยุ่งยากซับซ้อนได้ในเวลาเพียงเศษส่วนของวินาที คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณ และสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลข ตัวอักษร และรูปภาพได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไปนอกจากนี้ยังสามารถจัดการเกี่ยวกับสัญลักษณ์ (Symbol) ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตาม ขั้นตอนของโปรแกรม สามารถเปรียบเทียบข้อมูลทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลไว้ในตัวเครื่องสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่าง ๆ ได้2. วัตถุประสงค์ของการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
วัตถุประสงค์
เมื่อเสนอกระบวนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนนี้แล้ว ผู้ศึกษาสามารถ
1. อธิบายความหมายและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ได้
2. ระบุชนิดและประเภทขอคอมพิวเตอร์ได้
3. อธิบายการทำงานและองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
4. อธิบายการใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษาได้3. ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ แนะนำส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบทั่วไปของคอมพิวเตอร์
จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าสู่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เพื่อทำการประมวลต่อไป
2. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ และทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างภายในคอมพิวเตอร์
3. หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล ซึ่งมีรูปแบบการแสดงผลอยู่ 2 แบบ คือ
3.1 แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้
3.2 แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้4.คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ
กระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้องค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน1. เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว2.ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบ3. ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนน4. ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป
5. การวัดประเมินผลคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
การประเมินบทเรียนและสภาพการนำไปใช้มีบทเรียนจำนวนไม่น้อยที่ประเมินโดยผ่านข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการใช้จริงตามความมุ่งหมายของบทเรียนนั้นๆ ดังนั้นจึงอาจคาดเดาได้ยากว่าการ ใช้บทเรียนนั้นๆ ในสภาพจริงจะประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลว เพราะความสำเร็จหรือความล้มเหลวของ CAI ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ CAIบทเรียนแต่จะขึ้นอยู่กับระดับการนำไปใช้จริงด้วยดังนั้นการประเมินบทเรียนควรพิจารณาในเรื่องนี้ให้ละเอียดดังที่รากอสตา (Ragosta.1983 : 124) ได้กล่าวว่า
"ความสำเร็จของ CAI จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นจากากรใช้บทเรียนนั้น เมื่อผู้เรียนเรียนจาก CAI ผู้เรียนควรได้เกิดจากการเรียนรู้แบบรอบรู้ เป็นการเรียนด้านวิชาการโดยแท้ เป็นการสดนแบบโดยตรง (Direct Instruction)บรรยากาศในการเรียนดีเป็นการคาดได้ว่า ผู้เรียนได้รับทักษะตามที่คาดหวังและผู้เรียนมีโอกาสมีส่วนร่วม หรือลงมือปฏิบัติในการเรียนระดับสูง"
หน่วยการเรียนที่ 2
...วัตถุประสงค์
...แนวคิด
...บทนำ
*******************
บทบาทคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการศึกษา มีรายระเอียดทั้ง 9 หัวข้อดังนี้คือ
...1. งานบริหาร
...2. งานหลักสูตร
...3. งานห้องสมุด
...4. งานพัฒนาวิชาชีพ
...5. งานวิจัย
...6. งานแนะแนวและบริการพิเศษ
...7. งานทดสอบ
...8. สื่อการสอน
...9.คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์
***1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เชื่อว่า มนุษย์และการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอกโครงสร้างบทเรียนในลักษณะเชิงเส้นตรง (Linear) โดยผู้เรียนทุกคนจะได้รับการเสนอเนื้อหาในลำดับที่เหมือนกันและตายตัว
***2. ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism) พฤติกรรมมนุษย์เป็นเรื่องของจิตใจ ทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบในลักษณะสาขา (Branching) ของคราวเดอร์ (Crowder)
***3. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้Schema Thory) โครงสร้างภายในของมนุษย์จะมีลักษณะเป็นเหมือนโหนดหรือกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ มนุษย์จะนำความรู้ใหม่ ๆ ไปเชื่อมโยงกับกลุ่มความรู้เดิม (Pre-existing Knowledge)
***4. ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility Theory) เพื่อตอบสนองโครงสร้างขององค์กรความรู้ที่แตกต่างกัน
************************
หน่วยการเรียนที่ 3
วัตถุประสงค์
แนวคิด
แนวทางการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในการสอน
*-* ส่วนใหญ่มีความเข้าใจกันว่า การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการศึกษา หมายถึง คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนเท่านั้น ซึ่งความคิดนี้ไม่ถูกต้อง การที่คนทั้งหลายคิดเช่นนี้ อาจเป็นเพราะสาเหตุสำคัญ 2 ประการ
รูปแบบของคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนอาจมีหลายวิธี ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับรูปแบบและประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนมีอยู่หลายรูปแบบที่สำคัญ ได้แก่
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน คือ
-**- 1) สามารถเลียนแบบการสอนได้
-**- 2) มีสมรรถภาพในการรวบรวมสารสนเทศและข้อมูลต่างๆ ทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของปฏิสัมพันธ์การสอนได้คุณลักษณะทั้ง 2 ประการนี้
อาจเป็นสิ่งจำเป็นถ้าเราสามารถพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนให้เป็นเทคโนโลยีได้ แต่ความบกพร่องของคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนในปัจจุบัน คือ โปรแกรมที่นักพัฒนาโปรแกรมผลิตออกสู่ท้องตลาด ซึ่งโปรแกรมทั้งหลายนั้นยังไม่ได้ผ่านการทดสอบหรือทดลองจริงในห้องเรียนมาก่อน จากความสามารถของคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนสามารถปรับปรุงได้
***********************
หน่วยการเรียนที่ 4
วัตถุประสงค์
~~~เวิร์ดโปรเซสเซอร์~~~
~~~เวิร์ดโปรเซสเซอร์คืออะไร~~~
~~~ลักษณะโดยทั่วไปของเวิร์ดโปรเซสเซอร์~~~
การทำงานของเวิร์ดโปรเซสเซอร์
.....หน้าที่สำคัญของเวิร์ดโปรเซสเซอร์มี 2 ประการ คือ แก้ไขเอกสาร (Editing)และจัดรูปแบบเอกสาร(Formatting)ในการแก้ไขเอกสารนั้นผู้ใช้สามารถพิมพ์ เพิ่ม ลบ ตัดต่อและดัดแปลงแก้ไขเอกสารได้ ส่วนจัดรูปแบบเอกสารนั้นผู้ใช้ก็สามารถเปลี่ยนแปลงย่อหน้า เพิ่มหรือลดความกว้างของคอลัมน์ (Column) เพิ่มหรือลดระยะห่างระหว่างข้อความและอื่น ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้ใช้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือต่อเติม จะปรากฏให้เห็นบนจอภาพลงบนแผ่นกระดาษโดยเครื่องพิมพ์ (Printer) ซึ่งเครื่องพิมพ์จะพิมพ์เอกสารที่เตรียมไว้ได้โดยถูกต้องและตรงตามที่ต้องการ นอกจากนั้นเครื่องพิมพ์โดยทั่วไปยังสามารถพิมพ์ตัวอักษรพิเศษได้ เช่น ตัวขยาย ตัวหนา ตัวเอน ตัวบีบ หรือการขีดเส้นใต้ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถเน้นข้อความที่ต้องการในเอกสารได้เป็นอย่างดี ส่วนความเร็วในการพิมพ์นั้น จะขึ้นอยู่กับขนาดและรุ่นของเครื่องพิมพ์
การติดต่อสื่อสารของชั้นเรียนในอนาคต
จากการสังเกตพัฒนาการทางเครื่องมือแล
ะเทคโนโลยีที่มีอยู่ในชั้นเรียน จะพบว่ามีส่วนที่พัฒนาไปตามเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ใช้ในวงการธุรกิจ หรืออาจเป็นเพราะระบบธุรกิจมีส่วนผลักดันให้เป็นเช่นนั้นก็ได้ ในขณะที่ปัจจุบันการสื่อสารด้วยเอกสารในวงการธุรกิจเริ่มเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นสิ่งที่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
***********************
หน่วยการเรียนที่ 5
วัตถุประสงค์
การรู้คอมพิวเตอร์
สาระสำคัญของการรู้คอมพิวเตอร์ที่ผู้ศึกษา ความรู้ 4 ประการ คือ
1. ควรมีความรู้ความเข้าใจ เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์
2. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและการประยุกต์ก็ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์
3. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทั่วไปของคอมพิวเตอร์ว่าเป็นระบบ อย่างหนึ่ง
4. ควรมีเจตคติทางบวก และปราศจากอคติต่อคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร
การสอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนในต่างประเทศ
การสอนคอมพิวเตอร์แก่ผู้เรียนก่อนที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา การสอนคอมพิวเตอร์อาจเริ่มจากระดับง่ายๆ ตั้งแต่การรู้จักใช้แป้นพิมพ์ (Keyboards) ไปจนถึงระดับการเขียนโปรแกรมขั้นสูงหัวข้อการเรียนในรายวิชาการรู้คอมพิวเตอร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนนั้น จะประกอบไปด้วย
หน่วยที่ 1 ประวัติคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 2 ภาษาคอมพิวเตอร์(Languages)
หน่วยที่ 3 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์(Computer Appli cation)
หน่วยที่ 4 Term,Word, and Acronyms
หน่วยที่ 5 ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)
หน่วยที่ 6 Flowshart and Algorithm
**************************
หน่วยการเรียนที่ 6
วัตถุประสงค์
กระบวนการประเมิน
ในการประเมินบทเรียน มีขั้นตอนในการพิจารณาอยู่ 3 ขั้น คือ
1. การประยุกต์ใช้
2. การใช้โปรแกรม
3. ราคา
การประเมินบทเรียนและสภาพการนำไปใช้
มีบทเรียนจำนวนไม่น้อยที่ประเมินโดยผ่านข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการใช้จริงตามความมุ่งหมายของบทเรียนนั้นๆ ดังนั้นจึงอาจคาดเดาได้ยากว่าการ ใช้บทเรียนนั้นๆ ในสภาพจริงจะประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลว เพราะความสำเร็จหรือความล้มเหลวของ CAI ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ CAIบทเรียนแต่จะขึ้นอยู่กับระดับการนำไปใช้จริงด้วยดังนั้นการประเมินบทเรียนควรพิจารณาในเรื่องนี้ให้ละเอียดดังที่รากอสตา (Ragosta.1983 : 124) ได้กล่าวว่า
***"ความสำเร็จของ CAI จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นจากากรใช้บทเรียนนั้น เมื่อผู้เรียนเรียนจาก CAIผู้เรียนควรได้เกิดจากการเรียนรู้แบบรอบรู้ เป็นการเรียนด้านวิชาการโดยแท้ เป็นการสดนแบบโดยตรง(Direct Instruction)บรรยากาศในการเรียนดี เป็นการคาดได้ว่า ผู้เรียนได้รับทักษะตามที่คาดหวังและผู้เรียนมีโอกาสมีส่วนร่วม หรือลงมือปฏิบัติในการเรียนระดับสูง"

ย้อนกลับหน้าหลัก